From Waste to Wealth

from waste to wealth

แค่เราคิดคนเดียวไม่พอ

ในช่วงเวลาเดียวกันที่ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ผู้มองเห็นขยะว่าเป็นทอง จัดตั้ง Scrap Lab ขึ้นที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลายๆเสียงสะท้อนจากหลายทิศทาง เริ่มมารวมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP:Industrial Technology Assistance Program) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)ได้จัดตั้งโครงการ “การพัฒนาวัสดุต้นน้ำหรือผลิตภัณฑ์จากเศษเหลือใช้”

จากแค่คิด จึงต้องลงมือทำ

ระหว่างที่ยังงงกับแนวทางการเปลี่ยนขยะนี้ ITAP และ ดร.สิงห์ อินทรชูโต ได้เลือกบริษัท MT Dynasty เป็นหนึ่งในโรงงานต้นแบบในโครงการ 7 แห่ง เราจึงได้พันธมิตรอีกหลายอุตสาหกรรม ร่วมลองผิดลองถูก ต่อยอดในการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต มาใช้สร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้ได้จริง จาก Experimental Project มาเป็นสิ่งที่ยั่งยืนกว่าสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา

Scrap Lab

scrap lap_03scrap lap_01scrap lap_02scrap lap_04

จากอุตสาหกรรมต้นน้ำออกสู่ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน

จากวันนั้นมาถึงเวลานี้ 3 ปี ที่ได้ร่วมกับโครงการ การพัฒนาความคิดนอกกรอบทำให้เรามองเห็นอนาคตของผลิตภัณฑ์สีเขียว แต่เราก็ยังต้องวิ่งอยู่ในกรอบ..ของกล่องอลูมิเนียม แม้เราจะอยู่ต้นน้ำ หากด้วยการผลิตในอุตสาหกรรมหลักที่มีวัสดุเข้าและออกอย่างรวดเร็ว จากวัตถุดิบสู่เตาหลอมก็ไม่ช้ากว่ากัน การจะได้มาซึ่งวัสดุแต่ละชิ้นจึงขึ้นกับจังหวะเวลาและความจำกัดของกระบวนการผลิต จากแบบ Drawing สู่งานประกอบ พาลต้องตัดขยับไปทุกครั้งไป
เหมือนร่อนทองจากกระแสน้ำอย่างไรอย่างนั้น

ผลงานของเราจึงมักเป็นรุ่น Limited มีจำนวนไม่มากต่อรุ่น ประกอบด้วยแรงงานฝีมือ อาจถือได้ว่าเป็นงานหัตถอุตสาหกรรม Industrial Craft เสียมากกว่า แต่บนความจำกัดของกรอบที่ว่านี้ จึงทำให้เราสามารถวิ่งต่อไปเรื่อยๆข้างหน้าได้


005IMG_4754ก้าวของเราเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จากการมองเห็นสิ่งที่ไม่คิดว่ามีคุณค่า แต่เราเชื่อว่าแม้จะอยู่ตรงไหน ต้นน้ำ ปลายน้ำ ในโรงงาน ที่ทำงานหรือที่บ้าน ภาคอุตสาหกรรม หรือเกษตรกรรม เราสามารถที่จะเริ่มต้นกับสิ่งเล็กๆ ที่เราพอจะทำได้ ด้วยว่าสสารไม่สูญหายและวงจรชีวิตของสิ่งๆหนึ่งนั้น เกิดจากการตัดสินใจที่จะให้มันมีชีวิตต่อหรือไม่ อย่างไร และนี่คือแนวคิดของการ UPCYCLING